Split-complementary ทางเลือกสีเพื่อความยืดหยุ่น ในการออกแบบ
การเลือกใช้สี มักจะมีผลต่อการใช้งานในด้านของการสื่อความหมาย อารมณ์ หรือแม้แต่กระทั่งวัตถุประสงค์ต่างๆ และเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ไปกับวงล้อสี และทฤษฎีสี ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมกัน
เมื่อเอ่ยถึงเรื่องของสี ทฤษฎีสีจัดว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่ยากจะรับมือถ้าหากว่าไม่เคยชินมาก่อนก็อาจจะทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยาก แต่จะว่าไปด้วยเรื่องของทฤษฎีสี นับว่ามีหลายทฤษฎีหรือหาวิธีลงเดียวที่จะใช้เพื่อการเลือกสี นั่นยิ่งทำให้เป็นปัญหาอย่างนึงสำหรับนักออกแบบ แต่จริงๆแล้วจริงๆก็ต่อเมื่อรู้จักการใช้วงล้อสีอย่างเกิดประโยชน์ และแน่นอนว่าก็มีหนึ่งในทฤษฎีที่สามารถเอามาปรับเข้าด้วยกัน
ทฤษฎีที่ว่า คืออะไร?
Split-complementary เป็นชื่อเรียกของหนึ่งในทฤษฎีที่พูดถึง มั่นใจว่าหลายคนอาจจะยังอยู่กับชื่อของทฤษฎีที่ว่า แต่ก็ยังมีบางอย่างที่ไม่เหมือนกัน และยังเป็นเรื่องที่จะต้องทำความเข้าใจ
ถ้าว่าด้วยเรื่องของ complementary อาจจะเรียกได้ว่าเป็นทฤษฎีแรกที่พูดถึงตอนไปก่อนหน้านี้ โดยเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงคู่สีตรงข้าม โดยปกติแล้วมักจะได้รับความนิยมในการเลือกใช้อยู่ตลอด และเรียกได้ว่าเป็นพื้นฐานของทฤษฎีวงล้อสีมาตั้งแต่ต้น แต่อย่างที่บอกพอเมื่อมีการเติมคำว่า Split เพิ่มเข้าไปยิ่งทำให้ความหมายเปลี่ยนไปด้วย
โดยสำหรับทฤษฎีสิ่งที่ว่านี้ เป็นทฤษฎีที่มีการใช้คู่สีตรงข้ามแบบปกติที่เคยเป็น แต่ทั้งนี้จะแตกต่างกันตรงที่ว่ามีการใช้สีถัดไปเพิ่มความหลากหลายเข้าไปด้วย ซึ่งจะเป็นการเลือกเพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่งเพิ่มเข้าไปเท่านั้น แต่ในการเลือกสีถัดไปที่เพิ่มขึ้นได้หมายความว่าอีกฝั่งก็จะต้องเป็นสีแบบที่ขึ้นชื่อว่าคู่สีฝั่งตรงข้ามด้วยเหมือนกัน เพื่อที่จะให้สีและมีความยืดหยุ่นแต่ก็ไม่ได้ทำให้งานหรือสิ่งที่จะเอาไปใช้ดูแปลกมากเกินไปนะ
จะเห็นได้จากงานโฆษณาที่เป็นแบนเนอร์หรือการตกแต่งเว็บไซต์ แต่หลักๆแล้วส่วนใหญ่ที่เห็นได้เยอะก็คงจะเป็นงานออกแบบโทนสีขาวดำ ที่อาจจะมีการเพิ่มสีอื่นเข้ามาทำให้งานดูเป็นโทนสีใหม่และน่าสนใจมากขึ้น
แน่นอนว่าการเลือกใช้รูปแบบนี้จะทำให้การกันสีหลักให้โดดเด่นไม่ใช่เรื่องยาก ที่สำคัญยังสามารถที่จะเปลี่ยนได้ทั้งอารมณ์รวมถึงวัตถุประสงค์ต่างๆได้ เพราะฉะนั้นแล้วถ้าอยากจะเลือกใช้เทคนิคที่ว่าอาจจะต้องมีการเข้าใจลักษณะวิธีการเลือกใช้ก่อน และจริงๆแล้วยังสามารถที่จะเอาไปผสมกับทฤษฎีสีอื่นๆได้อีก ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของงานหรือสิ่งที่ต้องการจะสื่อ