Harmony ทฤษฎีสีจุดเริ่มต้น นักออกแบบต้องรู้
เคยได้ยินเรื่องของ “การจัดโครงสี” ไหม? จริงๆต้องบอกก่อนเลย ด้วยการที่จะต้องมีความเข้าใจในการจัดโครงสร้าง เพราะสีเป็นสิ่งที่สามารถที่จะแสดงได้ทั้งอารมณ์และความรู้สึก และการจัดโครงสีมีการแบ่งแยกประเภทที่หลากหลาย เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์การใช้งาน
“Harmony” หนึ่งในประเภทที่ถูกกำหนดขึ้นสำหรับการจัดโครงสี และแน่นอนว่าส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ได้รู้จักกันดี งั้นเอาเป็นว่าเราจะมาทำความรู้จักกันเพิ่มเพื่อที่จะได้รู้จักกันมากขึ้น
Harmony คืออะไร
อย่างที่บอกว่าเมื่อพูดถึงเรื่องการจัดโครงสี Harmony เป็นอีกหนึ่งชื่อที่เกิดขึ้น และแน่นอนว่าอาจจะไม่เคยได้ยินกันมาก่อน จริงๆแล้วสำหรับคำนี้แปลว่า การใช้สีกลมกลืน
เมื่อเลือกใช้การจัดโครงสีแบบที่เลือกใช้สีกลมกลืน เพราะฉะนั้นแล้วจะหมายถึงการใช้คู่สีที่ใกล้กัน หรือเป็นคู่สีที่มีความต่างแต่ไม่ได้ถึงขั้นขัดแย้ง โดยรูปแบบของสิ่งที่พูดถึงสามารถที่จะแบ่งได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ
แบบที่ 1 ค่าน้ำหนักสีๆเดียว (Total Value Harmony)
การใช้สีเพียงแค่สีเดียวจากทั้งหมด รูปแบบอาจจะคล้ายกับสีเอกรงค์ที่เคยเล่ากันไปก่อนหน้านี้ แต่ความแตกต่างตรงที่จะใช้ค่าของสีให้มีหลายน้ำหนัก โดยอาจจะใช้ทั้งสีขาวและสีดำในการเพิ่มน้ำหนักความเข้มและความอ่อนให้ต่างกันไป เพื่อที่จะได้ความหลากหลายมากขึ้น
แบบที่ 2 ใช้สีใกล้เคียง (Analogus)
เป็นอีกวิธีที่จะใช้สีสำหรับแบบกลมกลืน โดยจะเลือกใช้คู่สิ่งที่มีความใกล้เคียงกันในวงจรสี ซึ่งจะใช้สีที่อยู่ด้านข้างสามารถเลือกได้ทั้งซ้ายและขวา แต่ส่วนใหญ่จะไม่เกินประมาณ 3-4 สีในการที่จะเอามาผสมกัน มันก็จะทำให้ภาพดูสบายๆและดูมีความเป็นธรรมชาติด้วยเหมือนกัน
โดยทั้งสองแบบจะเป็นการจัดโครงสีแบบกลมกลืนที่จะให้ความรู้สึกไม่ได้แตกต่างกันมากนะ ซึ่งจะเห็นได้บ่อยๆกับเวลาที่ใช้ในงานออกแบบ หรือบางครั้งภาพที่มีความเป็นธรรมชาติก็มักจะเป็นสีแบบกลมกลืน และเป็นสีที่มีลักษณะใกล้เคียงกันไม่ต่างกันมากเท่าไหร่
แต่จริงๆแล้วสำหรับเรื่องของการจัดโครงสีหรือเกี่ยวกับวงจรสีนั้นก็ยังมีอีกหลายเรื่องเลยทีเดียวที่โดยทั่วไปนั้นควรที่จะต้องรู้ อย่างน้อยก็เป็นประโยชน์มากในการที่จะเอามาใช้กับงานออกแบบหรืองานที่จะต้องเอาเรื่องของสีเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นแล้วถ้าอยากรู้ว่ายังมีอะไรอื่นๆอีกบ้างที่จะเป็นประโยชน์ก็คงจะต้องรอติดตามดูกันต่อไป เขาบอกรู้ว่าอาจจะเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้พัฒนาออกแบบได้