สีเอกรงค์ ไม่ใช่แบบทั่วไปที่เราจะรู้จักกันดีสักเท่าไหร่ ยิ่งใครที่พึ่งจะมาเริ่มเรียนรู้ในเรื่องนี้ ก็บอกเลยว่าอาจจะรู้สึกตื่นตาตื่นใจมากทีเดียว แต่คงจะดีกว่าถ้าเราเข้าใจและรู้รายละเอียดต่างๆมากขึ้น
Monochromes หรือ สีเอกรงค์ ตามที่ได้ยินกันนั้นบอกเลยว่าถ้าใครที่พอจะเดาได้ก็คงจะเข้าใจเรื่องของความเป็นเอก นั่นคือเพียงแค่หนึ่งเท่านั้น
หากจะให้ตีความแบบที่ง่ายที่สุด คือ ภาพๆนั้นจะเลือกใช้เพียงแค่สีใดสีหนึ่ง และที่สำคัญนั้นก็จะไม่มีการนำสีอื่นเข้ามาผสมเลย แต่ตามหลักนี้บางคนอาจจะมองว่าไม่เป็นภาพที่น่างดงามหรือน่าใส่ใจสักเท่าไหร่ แต่บอกเลยว่าไม่ใช่อย่างนั้น
เนื่องจากการเลือกใช้ตามหลักเกณฑ์ที่สำคัญ เมื่อเลือกเอาสีที่สดใสมาใช้ในส่วนของการเป็นจุดเด่นของภาพที่เลือกเอาไว้แล้ว หลังจากนั้นสีสดใสที่เลือกเอามาใช้ก็จะมีการลดค่าความสดลงไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ในอดีตของไทยสีที่ว่าเป็นรูปแบบของสีแบบดั้งเดิมที่นิยมเอามาใช้ในการเขียนภาพจิตรกรรม
แต่ทั้งนี้ก็อาจะมีการนำสีมาใช้ไม่เกิน 5 สี โดยสีที่นำเอามาใช้นั้นจะมาจากสีวรรณะใดวรรณะหนึ่งเท่านั้น จะไม่มีการนำสีจากวรรณะอื่นๆเอามาผสมกัน สาเหตุเป็นเพราะว่าสีที่อยู่ในวรรณะเดียวกันจะทำให้การผสมเป็นไปได้อย่างกลมกลืนมากกว่าที่จะเอามาใช้
และถึงแม้สีที่ถูกนำมาใช้เพื่อที่จะเพิ่มลงไปในภาพนั้น อาจจะเป็นไปตามเฉดสีภายในแต่อย่างไนก็ตามยังไงก็ต้องลดค่าความสด หรือถ้าจะให้พูดกันตามตรง คือ ไม่ให้เด่นไปกว่าสีเอกที่เลือกที่จะใช้
การที่ในเมืองไทยในอดีตนิยมที่จะเลือกสร้างสรรค์รูปภาพหรือผลงานศิลปะที่มาจากสีเอกรงค์ นั่นเป็นเพราะโครางสร้างจากสีในรูปหรืองานศิลปะชิ้นนั้นจะมีโครงสร้างสีที่ไม่ดูรุนแรงมากไปเมื่อเทียบกับการเลือกใช้หลายๆสีมาผสมผสานหรือใส่ลงไปในภาพงานศิลปะภาพนั้นๆ
ถ้าหากว่าลองเทียบดูเมื่อลองมองภาพที่มีส่วนผสมของสีที่มากเกินไป นอกจากดูไปนานๆแล้วจะเบื่อง่าย ยังมีแบบที่ภาพหรืงานศิลปะชิ้นนั้นๆมีการเอาสีจากหลายๆวรรณะมาทำการผสมกัน บอกได้เลยว่าอาจจะเป็นความน่างงงวยเกิดขึ้นก็ได้
อย่างน้อยงานศิลปะสีเอกรงค์นอกจากจะให้เรื่องของความประณีตแล้วยังให้ในเรื่องของความรู้สึกที่สามารถจะดึงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในภาพนั้นมีความต้องการในการสื่อถึงอารมณ์ในศิลปะแบบไหนมากที่สุด